|
|
|
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เมืองไชยปราการเคยเป็นราชธานีของ อาณาจักรโยนกเชียงแสน (ล้านนา) มาก่อน ตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าพรหมกุมาร
หรือพระเจ้าพรหมมหาราชพระองค์ได้ทรงโปรดให้สร้างเมืองขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๑๕๙๙ ตรงบริเวณลำแม่น้ำฝาง ฝากฝั่งด้านทิศตะวันออก ได้ขนานนามเมืองว่า “นครเวียงไชยปราการราชธานี ”
และพระเจ้าพรหมราชกุมาร ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เมื่อปี พ.ศ. ๑๖๐๐ เมืองไชยปราการนี้อยู่ห่างเมืองโยนกเชียงแสน |
|
|
หรือเมืองเวียงไชยบุรี - ศรีเชียงแสน เป็น ระยะทางประมาณ ๓๐๐ กิโลเมตร
(คือเมืองเชียงแสนกับเมืองฝางในปัจจุบัน) เมืองไชยปราการที่กล่าวถึงนี้ ศาสตราจารย์แคมแมน นักสำรวจโบราณวัตถุแห่ง มหาวิทยาลัยมลรัฐเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา ได้ให้ข้อสันนิษฐานว่า
เมืองไชยปราการที่พระเจ้าพรหม มหาราชทรงสร้างขึ้นนั้น มิใช่ตัวเมืองฝางในปัจจุบัน แต่เป็นริมแม่น้ำฝางด้านทิศตะวันออกอยู่ในพื้นที่ตำบลแม่ข่า ทางทิศใต้ของอำเภอฝาง
(เขตติดต่ออำเภอฝาง - อำเภอไชยปราการ) เมืองไชยปราการตั้งอยู่ห่าง อำเภอฝาง เป็นระยะทางประมาณ ๒๒ กิโลเมตร มีลักษณะคล้ายหัวใจ เมืองไชยปราการเป็นเมืองร้างซึ่ง ปรากฏซากกำแพงเมือง
ซุ้มประตู และซากพระราชวังอยู่โดยชัดแจ้ง ส่วนตัวเมืองฝางนั้น เป็นเมืองที่สร้างขึ้นใหม่ภายหลัง
ต่อมาเมืองไชยปราการได้เสื่อมอำนาจลงเมื่อปี พ.ศ. ๑๗๐๒ พระยามังราย (พ่อขุนเม็งราย) ผู้สร้างเมืองเชียงราย ได้ขยายอำนาจ และสร้างเมืองใหม่ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๙๓ ตรงบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง(ระมิงค์)
เป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีความมั่นคงแข็งแรงกว่าเมืองอื่น ๆ และพระองค์ได้ขนานเมืองว่า เมืองเชียงใหม่ ดังนั้น เมืองไชยปราการจึงได้ถูกรวมเข้ากับเมืองฝางและอยู่ในเขตอำเภอฝาง |
|
|
|
|
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีดงเย็นได้เปลี่ยนแปลงสถานะจาก สภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2538 ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 |
|
|
|
|
|
|

 |
รูปดอกบัว คือ พื้นที่ตำบลศรีดงเย็น มีความเจริญรุ่งเรื่องด้านศาสนา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมอันดี เช่น ประเพณีหกเป็ง การสรงน้ำพระธาตุ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้คนเป็นคนดี มีน้ำใจ มีความเสียสละ |

 |
รูปวัดและพระธาตุ คือ วัดถ้ำตับเตา เป็นวัดที่มีความเก่าแก่ เป็นที่เคารพสักการะของคนในชุมชน และมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่สำคัญ เนื่องจากสถานที่ดังกล่าว เคยเป็นที่ตั้งฐานทัพของสมเด็จพระเอกาทศรฐ ก่อนที่จะเข้าไปทำสงคราม |
|
|
กับพม่า และได้มีการก่อสร้างพระพุทธรูปในถ้ำแจ้ง เพื่อสร้างขวัญ กำลังใจให้กับไพร่พลในกองทัพ |

 |
รูปสายน้ำ พื้นที่บริเวณนี้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร คือ น้ำฝางที่มาจากขุนดอยเวียงผา น้ำรูตะเคียนน้ำรูหลวง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่มีความสำคัญ และหล่อเลี้ยงชีวิตของคนในตำบลศรีดงเย็น โดยแหล่งน้ำต่างๆ เหล่านี้ได ไหลรวมมาเป็นน้ำฝาง ไหลลงสู่น้ำกก และลงสู่น้ำโขง |

 |
รูปภูเขา พื้นที่แห่งนี้ประกอบด้วยภูเขาสูง คือ ดอยเวียงผา ที่มีสถานที่ท่องเที่ยวกุหลาบพันปี และอุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา ดอยเวียงผา เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นต้นกำเนิดของน้ำฝาง ที่ก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ตำบลศรีดงเย็น |

 |
รูปรวงข้าว คือ สัญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์ของการเกษตร ซึ่งเกษตรกรในพื้นที่ตำบลศรีดงเย็น สามารถเพาะปลูกพืชต่างๆ ตลอดทั้งปีหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันไป ทำให้ประชาชนมีรายได้ในระดับดีตลอดปี
|

 |
รูปพระอาทิตย์ คือ สัญลักษณ์ที่แสดงถึงความสวยงามของพื้นที่ตำบลศรีดงเย็น ที่มีแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่สวยงาม เช่น อ่างเก็บน้ำหนองเบี้ย วัดถ้ำตับเตา กาดเมืองผี ป่าพันปี ดอยเวียง น้ำรูมรกต น้ำรูตะเคียน |
|
|
|
|
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีดงเย็น ตั้งอยู่เลขที่ 99 หมู่ที่ 6 ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ 50320 ที่ทำการอยู่ห่างจากอำเภอไชยปราการ ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 303.08 ตารางกิโลเมตร หรือ 189,425 ไร่ |
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 9,356 คน แยกเป็น |

 |
ชาย จำนวน 4,690 คน |
คิดเป็นร้อยละ 50.13 |

 |
หญิง จำนวน 4,666 คน |
คิดเป็นร้อยละ 49.87 |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,352 ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 30.87 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ตำบลปงตำ ตำบลหนองบัว ตำบลแม่ทะลบ
อำเภอไชยปราการ |
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
อำเภอพร้าว และอำเภอเชียงดาว |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ตำบลแม่ทะลบ อำเภอไชยปราการ
และอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย |
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ |
|
|
|
|
ตำบลปงตำ ตำบลหนองบัว ตำบลแม่ทะลบ อำเภอไชยปราการ |
ตำบลหนองบัว
อำเภอไชยปราการ |
ม.8
ม.18
ม.10
ม.7
ม.15
ม.16
ม.12
ม.2
ม.4
ม.14
ม.1
ม.3
ม.9
ม.11
ม.17
ม.5
ม.6
ม.13
|
ตำบลแม่ทะลบ อำเภอไชยปราการ
และอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย |
อำเภอพร้าว และอำเภอเชียงดาว |
|
|
|
|
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
1 |
บ้านแม่ขิ |
204 |
207 |
411 |
149 |
2 |
บ้านแม่ขิหล่ายฝาง |
13 |
6 |
19 |
6 |
3 |
บ้านศรีดงเย็น |
129 |
15 |
244 |
62 |
4 |
บ้านอินทาราม |
16 |
16 |
32 |
6 |
5 |
บ้านอ่าย |
550 |
551 |
1,001 |
175 |
6 |
บ้านร้องธาร |
213 |
224 |
437 |
91 |
7 |
บ้านทรายขาว |
342 |
342 |
684 |
119 |
8 |
บ้านหนองป่าซาง |
266 |
267 |
533 |
164 |
9 |
บ้านดงป่าสัก |
361 |
390 |
751 |
267 |
10 |
บ้านหัวฝาย |
536 |
495 |
1,031 |
221 |
11 |
บ้านกิ่วจ้าปี |
147 |
167 |
314 |
151 |
12 |
บ้านสันทราย |
192 |
192 |
384 |
138 |
13 |
บ้านถ้าตับเตา |
421 |
446 |
867 |
164 |
14 |
บ้านปางมะขามป้อม |
292 |
311 |
603 |
162 |
15 |
บ้านเชียงหมั้น |
335 |
329 |
664 |
127 |
16 |
บ้านแพะเศรษฐี |
162 |
177 |
339 |
118 |
17 |
บ้านด้ง |
13 |
9 |
22 |
3 |
18 |
บ้านเวียงผาพัฒนา |
498 |
422 |
920 |
273 |
รวม |
4,690 |
4,666 |
9,356 |
2,352 |
|
|
ที่มา : สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง การตรวจสอบจากทะเบียนราษฎร์ อ้าเภอไชยปราการ ข้อมูล ณ 18 เมษายน 2562 |
|